Kotter (1990) ได้เสนอ 8 ระยะของการเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่ความสำเร็จใน
การจัดการการเปลี่ยนแปลงองค์การ ซึ่งประกอบด้วย
1)สร้างให้ทุกคนเห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (Establishing a Sense of Urgency) โดยการสำรวจตลาดและความเป็นจริงของการแข่งขัน อาทิ การวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับวิกฤติการณ์ วิกฤติการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหรือโอกาสใหม่ๆ ที่จะมี
2)สร้างทีมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Forming a Powerful Guiding Coalition) องค์การจำเป็นต้องมีผู้นำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งคนนี้จะเป็นขึ้นมาเป็น ผู้นำแนวทางให้กลุ่มได้ทำงานร่วมกันเป็นทีม เพราะคนผู้นี้เป็นผู้ที่เชื่อในการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในการพูดจาจูงใจได้คนร่วมมือกันได้
3)การสร้างวิสัยทัศน์ (Creating a Vision) การสร้างวิสัยทัศน์จะช่วยกำหนดทิศทางของการเปลี่ยนแปลง สามารถพัฒนากลยุทธ์ที่นำสู่ความสำเร็จ ซึ่งองค์การอาจจะสร้างวิสัยทัศน์ในลักษณะที่ว่า หลังจากการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว 5-10 ปีข้างหน้าองค์การจะเป็นอย่างไรภายใต้วิสัยทัศน์
4)การสื่อสารวิสัยทัศน์ (Communication the Vision) เป็นการใช้พาหะที่เป็นไปได้เพื่อการสื่อสารวิสัยทัศน์ใหม่และกลยุทธ์ใหม่ รวมถึงผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องทำตัวเป็นต้นแบบเพื่อสอนถึงพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ
5)ให้อำนาจต่อบรรดาพนักงานทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัติตนตามวิสัยทัศน์
(Empowering Other to Act on the Vision) โดยการขจัดอุปสรรคของระบบการเปลี่ยนแปลงหรือโครงสร้างที่ไม่สามารถทำให้วิสัยทัศน์สำเร็จ สนับสนุนให้กล้าเสี่ยงและคิดอย่างไร้กรอบ ทำกิจกรรมนอกกรอบ
6)วางแผนสำหรับการสร้างชัยชนะระยะสั้น (Planning for and Creating Short-Term Wins) การวางแผนให้ประสบความสำเร็จในระยะสั้นเป็นระยะๆ เพื่อการปรับปรุงผลงาน การสร้างการยอมรับในการปรับปรุงและคนที่ทำการเปลี่ยนแปลงสำเร็จต้องได้รับรางวัล
7)ประมวลการปรับปรุงเหล่านี้ให้ครบถ้วน (Consolidating Improvements and Producing Still More Change) การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ทำสำเร็จให้คงไว้ อะไรที่ไม่สำเร็จให้ยกเลิกโดยเฉพาะที่ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ใหม่ สิ่งสำคัญคือการคัดเลือกบุคลากรที่จะปฏิบัติตามวิสัยทัศน์และกระบวนการของเราจะต้องมีความเข้มข้นตลอดเวลา สร้างธีมการเปลี่ยนแปลง สร้างตัวสัญลักษณ์ เพิ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้มากขึ้นเรื่อยๆ
8)ฝังรากวิธีใหม่ในองค์การให้เป็นสถาบัน (Institutionalizing New Approaches) วิถีชีวิตของพนักงานที่สร้างใหม่และความสำเร็จขององค์การต้องสร้างให้มีความเชื่อมโยงกัน สร้างการยอมรับและปลูกฝังตามพฤติกรรมใหม่ หาแนวทางพัฒนาคนในองค์การที่จะเป็นผู้นำที่จะสืบทอดความสำเร็จขององค์การ
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
No comments:
Post a Comment