2011-01-25

BrainGym-ตอน คิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม -องค์ประกอบของการคิด


มิติใหม่ของการเสนอเรื่องราว "คิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม (Innovative Creativity Thinking) " ภายใต้ Domain ของ BrainGym -โรงยิมฝึกปัญญา ที่ ดร.ดนัย เทียนพุฒพัฒนาขึ้นมา
  
สำหรับในตอนก่อนได้เสนอ โมเดลโครงสร้างขององค์ประกอบการคิด แต่ไม่ได้อธิบายในรายละเอียด





ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ

บจก.ดี เอ็น ที คอนซัลแตนทฺ์

โทร 029301133





BrainGym-ตอน คิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม


       ความจริงเรื่องของคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม (Innovative Creativity Thinking) ในทางธุรกิจไม่น่าจะเริ่มก่อนด้านการศึกษาโดยเฉพาะในวิธีการศึกษาและค้นคว้าวิจัยเพราะ ทางด้านการศึกษาได้พัฒนาวิธีการวัดความฉลาดของคนมานานในชื่อที่เรารู้จักกันดีว่า “การวัดสติปัญญา” หรือ “เชาว์ปัญญา” ภาษาอังกฤษใช้ “Intelligent Quotient” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ กิลฟอร์ด (Guildford, 1967: The Nature of Human Intelligence) ได้พัฒนา Structure of Intellect (SI: โครงสร้างของสติปัญญา) ที่มีมากกว่า 150 ความเชี่ยวชาญเฉพาะ โดยอยู่ใน 3 มิติคือ มิติของทัศนคติทางสมอง-ขอบเขตการคิดแบบนามกรรมและรูปธรรม (Dimension of Mental Attitudes : Abstract Concrete Domain) มิติของขั้นตอนความคิด (Dimension of Type of Thought) และมิติของชนิดการคิด(Dimension of Types of Thought)



จุดเริ่มต้นของคิดสร้างสรรค์ 
ทฤษฎี SI ถือเป็นจุดเริ่มต้นของคิดสร้างสรรค์ที่ผู้เขียนอยากหยิบยกมาพูดถึง เนื่องจากเป็นสิ่งที่กิลฟอร์ดสนใจในเรื่องคิดสร้างสรรค์ (Creativity)  อันเป็นผลมาจาก กระบวนการคิดในผลผลิตของความคิดอเนกนัย (Divergent Production Operation)  ซึ่งบอกถึงรูปแบบต่างๆ ของคิดสร้างสรรค์
กิลฟอร์ดเชื่อว่า ความสามารถทางสมองของคนเราสามารถปรากฏได้ด้วยเงื่อนไขที่กำหนดในลักษณะของความเชี่ยวชาญ (Ability) โดยเรียกว่า องค์ประกอบ  ซึ่งสรุปจาก 3 มิติ โครงสร้างทางสติปัญญาของคนที่กล่าวไว้ข้างต้น (ดนัย เทียนพุฒ 2551 หน้า 169-174; อ้างจาก สนง.คณะกรรมการการศึกษา
แห่งชาติ, 2540: หน้า 106-110)

(ยังมีต่อ)

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ


โทร 029301133