2014-11-23

ดิจิตอลโคเรีย (Digital Korea) : อนาคตที่จับต้องได้

             

                 ความเจริญและพัฒนาอย่าวรวดเร็วด้านเทคโนโลยีของประเทศเกาหลีทำให้ประเทศในเอเซียสนใจที่อยากเข้าไปเยี่ยมชมและศึกษาความสำเร็จดังกล่าว
“Nuritkum Square Digital Pavilion” หรือห้องแสดงนิทรรศการดิจิตอล”  เป็นสถานที่ใหม่ล่าสุดของเกาหลีขององค์กรส่งเสริมอุตสาหกรรม IT แห่งชาติ ( nipa : National IT Industry Promotion Agency) โดยวางเรื่องราวของคนเมืองยุคดิจิตอล (Digital Media City) ไว้ 4 ชั้นด้วยกันคือ ส่วนของชีวิตประจำวัน  ส่วนการทำงาน  ส่วนของครัวเรือน  และการชมภาพยนตร์ 4 มิติจากฟิล์ม 3 มิติ  อีกทั้งห้องเสมือนจริงที่สิ่งต่างๆ ในห้องนั้นจะมีปฏิกริยาโต้ตอบกับเราได้
 สิ่งที่เกาหลีทำอยู่ใน Digital Pavilion คือ การส่งเสริมการตลาดอุตสาหกรรม IT ในระดับภูมิภาคและระดับโลก ของ “ Digital Korea” โดย
                 1) การเป็น “Digital Innovator“  เกาหลีนำเทคโนโลยีดิจิตอลมานำเสนอ ให้เห็นภาพอนาคตของดิจิตอลที่จับต้องได้  เมื่อผู้เข้าชมเข้าไปใน Digital  pavilion ในแต่ละชั้นจะต้องใช้บัตรผ่านที่เป็นบัตร RFID แตะเพื่อเข้าชมหรือเล่นกิจกรรมดิจิตอลต่างๆ ในอนาคต ด้วยระบบเซ็นเซอร์  ระบบสัมผัส (Touch  screen ) อาทิ
                   - Digital Melody  เป็นการใช้เทคโนโลยีสร้างเสียงดนตรีแบบต่างๆ โดยเราเหมือนผู้ควบคุมวงจับอุปกรณ์ (คล้ายๆ เมาส์กลมๆ) เคลื่อนย้ายก็จะเกิดเสียงดนตรี

                   -Health Care คือ ใช้เทคโนโลยีสแกนผ่านเราเพื่อดูตรวจวัดสุขภาพของร่างกาย เมื่อเรายืนอยู่ในตำแหน่ง และบนสายพาน
 
                     - Digital Life เป็นอ่างเลี้ยงปลาดิจิตอลภายในบ้านที่เราสามารถสร้างปลาดิจิตอลในรูปแบบต่างๆ ในชื่อเราแล้วก็ปล่อยลงในอ่างเลี้ยงปลาดิจิตอล


                   2) โลกอนาคตเป็นเครือข่ายที่รวมทุกอย่างเข้ามาด้วยกัน Ubiquitous Network หมายถึง เครือข่ายที่รวมทุกอย่างเข้ามาด้วยกันและใช้ได้ทุกๆ ที่ในโลกเมื่อใดก็ได้และทุกๆ อุปกรณ์ ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วย
                     - 5C (Computing, Communication, Connectivity, Contents, Calm)
                     - 6 Any (Anyone, Anytime, Anywhere,  Anydevice, Anyservice)
                    โดยมีผู้เล่นสำคัญคือ Samsung ที่เข้าชิงตลาด CPNT (Content, Platform, Network,Terminal) กับแบรนด์ผู้นำกระดับโลก เช่น Apple, Google และ Microsoft
                    ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เกาหลีได้ทำการตลาดวัฒนธรรมดิจิตอลในอนาคตเผยแพร่ให้ในโลกได้ซึมซับและรู้ถึงว่าเกาหลีมีเทคโนโลยีหรือกำลังก้าวสู่การเป็นผู้นำในโลกชีวิตดิจิตอล



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

2014-10-24

กระบวนการนวัตกรรมที่ธุรกิจสามารถนำไปใช้ได้


                ตามที่ผู้เขียนได้ ศึกษาเกี่ยวกับ Stage -Gate Model สำหรับพัฒนานวัตกรรมในผลิตภัณฑ์ หรือ บริการใหม่ ๆ   โดยพบว่า  Robert Cooper (1990) ได้เสนอไกระบวนการนวัตกรรมไว้ 6 ขั้นตอนที่ประกอบด้วย
             1. การสร้างไอเดีย (Idea Generation) ขั้นนี้บอกไว้ว่า นวัตกรรมเริ่มต้นจากบุคคล-แต่ละคนที่มีไอเดีย  คนที่ว่านี้เป็นใครบ้าง เช่น ลูกค้า พนักงานขาย วิศวกร หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในหัองแลปด้าน R&D  พนักงานด้านการผลิตที่ปวดหัวอยู่กับการจัดกระบวนงาน
พลังของไอเดียหนึ่งเดียวสามารถสร้างธุรกิจใหม่หรือกระตุ้นพื้นฐานของการแข่งขันให้เป็นสิ่งที่จดจำได้
             2. การยอมรับและการประเมินคุณภาพ (Recognition and qualitative evaluation)  การยอมรับนี้เป็นการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานอาวุโส หัวหน้างานหรือหัวหน้าโปรเจกต์ทีม
“คนที่มีลักษณะพร้อมทั้งด้านเทคนิคและมีความรู้โดยรอบในกลยุทธบริษัทและการตลาด  เขาหรือเธอคนนี้อาจจะอยู่ในงานด้านอื่น ๆ แต่ไอเดียที่เกิดขึ้นและมีการหยั่งเห็นสิ่งที่มีศักยภาพอย่างมีนัยสำคัญ  สิ่งที่คนเหล่านี้สร้างไอเดียขึ้นมาควรได้รับการยอมรับทั้งเชิงเทคนิคในการประเมินนวัตกรรมและศักยภาพเชิงพาณิชย์
           ขั้นตอนที่ 1 และ 2 สามารถสรุปให้เห็นได้ดังรูปที่ 1




          3. การประเมินทางธุรกิจ (Business evaluation) 4. ต้นแบบ (Prototype)  5. การทดสอบและความแม่นตรง (Testing and Validation)  และ 6. การผลิตเริ่มขึ้นและนำสู่ตลาด (Production ramp up and marketing) นี่คือกระบวนการ 6 ขั้นตอนของการนวัตกรรม

   Stage-gate process: เป็นสิ่งที่ธุรกิจได้รับความรู้จาก Robert Cooper (1990) นอกจากกระบวนการนวัตกรรมข้างต้น เขายังได้พัฒนากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยได้มาจากการศึกษากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (NPD) ร้อยกว่ากระบวนการและตกผลึกเป็นแนวคิดของ “Stage-gate”
กระบวนการของ Stage-gate ในรูปที่ 2 เป็นรูปแบบทั่วไปของการพัฒนานวัตกรรมใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์ในบริษัทชั้นนำที่สามารถทำให้เกิด
ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีกว่า
กำจัดการเป็นผู้แพ้ตั้งแต่ต้นๆ
การเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วแบบผู้ชนะที่มีศักยภาพ
การลดความสูญเสียในเชิงเทคนิคและความไม่แน่นอนทางการตลาดอย่างเป็นระบบ
เร่งเวลาการเข้าสู่ตลาด
ทำซ้ำได้อย่างไม่ยากในกระบวนการนี้


                                   

         ผู้เขียนหวังว่า แนวทางของกระบวนการพัฒนานวัตกรรมทั้ง6 ขั้นตอน และการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ด้วย Stage-gate จะช่วยให้ธุรกิจมีนวัตกรรมธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องครับ
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

2014-10-07

การเปลี่ยนแปลงแนวคิดและการจัดการสมัยใหม่สู่อนาคต





                 สัจธรรมอย่างหนึ่งของโลกนี้คือ  “การเปลี่ยนแปลง” ไม่ว่าจะเป็นชีวิตธุรกิจหรือสิ่งใดๆ ก็ตามย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติเสมอ
ในเส้นเวลาของธุรกิจก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน  ผู้เขียนลองย้อนกลับไปดูข้อมูลที่บันทึกไว้มาเปรียบเทียบกับยุคปัจจุบันเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจในบ้านเราและภูมิภาคนั้นเป็นอย่างไรซึ่งพบว่า
โลกธุรกิจในปี 2537 (20 ปีที่ผ่านมา) สำหรับบริบทของประเทศไทยและโลก  มีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงใน 4 เรื่องหลักที่พบคือ  1) การปลดคนงานเพื่อสร้างกำไร  2) การแข่งขันระดับภูมิภาค   3) การแข่งขันในระดับประเทศ และ 4) ความตระหนกของผู้นำธุรกิจ จึงปรับตัวและเปลี่ยนแปลงธุรกิจ
สำหรับโลกธุรกิจยุคดิจิตอล ณ ปัจจุบัน ปี 2557 พบว่ามีความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงใน 4 สิ่งดังต่อไปนี้คือ
               1. การควบรวมกิจการ (M & A) มีสูงมากขึ้น อาทิ
                       - Google เข้าซื้อกิจการมือถือ  Motorola (เมื่อ 19 เดือนที่ผ่านมา) เข้ามาเป็นหน่วยธุรกิจใหม่และ ปี 2557 ก็ขายให้กับ Lenovo ของประเทศจีน
                       - Microsoft เข้าซื้อกิจการมือถือ Nokia ซึ่งทศวรรษที่แล้วเป็นผู้นำตลาดโลก  จนกระทั่งเสียแชมป์ให้กับธุรกิจมือถือ Samsung สัญชาติเอเชียจากเกาหลีใต้ จนต้องหาทางออกโดยการขายกิจการ
               2. Social Network เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจให้เข้าสู่ยุคดิจิตอล (Digital age) มีการทำตลาดผ่านโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค เช่น IG (Instragram), Twitter, Line, Youtube. Facebook สูงอย่างไม่เคยมีมาก่อน
               3. ความสำเร็จของธุรกิจจากกลุ่มประเทศ BRICs (B=บราซิล, R=รัสเซีย, I=อินเดีย, C= จีน และ S=แอฟริกาใต้) ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) และเกาหลีใต้  ด้วยโมเดลธุรกิจ (Business Model) แบบใหม่และที่ไม่เคยมีมาก่อน  เช่น  Haier Model  ใช้ชนบทของประเทศจีนเป็นห้องเรียนสำหรับการเติบโตในตลาดต่างประเทศ  โดย "ดึงรายได้จากต่างประเทศที่มาจากการเจาะตลาดในประเทศที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ก่อนหน้านี้ และหลังจากนั้นได้เข้าไปเช่าช่องทางการจัดจำหน่ายและการบริการ เพื่อให้บริการคู่แข่งจากต่างชาติ”
              4. เครื่องมือและเทคนิคการจัดการสมัยใหม่ พบว่า
                       1)การสำรวจของ Bain & Company จากผู้บริหารธุรกิจทั่วโลกมีความนิยมใช้ใน 5 เครื่องมือการจัดการ (ในปี 2013) ดังนี้ การวางแผนเชิงกลยุทธ (Strategic Planning)  การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM)  การสำรวจความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement Surveys)  การเทียบเคียงวัด (Benchmarking) และการจัดการกลยุทธอย่างสมดุล (BSC)
2)ธุรกิจต้องการเครื่องมือการจัดการในอนาคต อาทิ
                        - กลยุทธที่เน้นทัศนภาพ (Scenario based strategy) เป็นการวิเคราะห์ทัศนภาพจากสิ่งที่การเปลี่ยนแปลงและมีผลกระทบต่อธุรกิจ ด้วยวิธีการใหม่ เช่น VUCA analysis เพื่อให้ได้ทั้งสิ่งที่แน่นอนและไม่แน่นอน  หลังจากนั้นค่อยสังเคราะห์ให้ได้เมทริกซ์ทัศนภาพ 2x2 (4 ภาพ) แล้วจึงมาพิจารณาถึงกลยุทธใหม่ของธุรกิจ
                        - นวัตกรรมโมเดลธุรกิจ (Business Model Innovation) และนัวตกรรมฝ่าทะลวง (Disruptive Innovation) คือการจัดทำโมเดลธุรกิจใหม่ซึ่ง มีหลายวิธีแต่น่าสนใจนำกลยุทธนวัตกรรมฝ่าทะลวงมาใช้ โดยมุ่งไปสู่กลุ่มลูกค้าที่ยักษ์ใหญ่ของอุตสาหกรรมไม่สนใจ  และกลุ่มลูกค้าที่ไม่เคยเป็นลูกค้ามาก่อน  หรือการเป็นเหมือนโจรสลัดฉายเดี่ยวไม่ร่วมกับธุรกิจใด
                        - CSR 2.0  การที่ธุรกิจรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม  แต่มีแนวโน้มเป็นโมเดลใหม่ที่เข้าไปสร้าง “ผู้ประกอบการเชิงสังคม (Social Entrepreneurs)” หรือ “ธุรกิจเชิงสังคม (Social Enterprises)” อย่างยั่งยืน
                       - สงครามการแย่งชิงคนเก่งพิเศษ (The War for Talent) เพื่อเข้ามาสร้างธุรกิจให้แตกต่างไปจากเดิมและคนเก่งพิเศษนี้มีอยู่ทั่วโลก  กับการเรียนรู้บนความท้าทาย (Challenge based Learning: CBL)  ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้ใหม่ที่พัฒนามาจากบริษัท Apple ในยุคของสตีฟ จ๊อบส์
ดังนั้น ในปัจจุบันผู้เขียน บรรยาย เรื่องแนวคิดและการจัดการสมัยใหม่ ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางธุรกิจให้กับหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา  สถาบันพระปกเกล้าสำหรับหลักสูตรธรรมาภิบาลของผู้บริหารระดับกลาง  การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และสถาบันการศึกษาอีกหลายๆ แห่ง  ผู้เขียนได้สังเคราะห์ทั้งแนวคิดการจัดการสมัยใหม่ตามที่เล่ามาข้างต้นและสรุปเพิ่มเติมได้เป็นดังภาพต่อไปนี้


                 รูปที่ 1  การเปลี่ยนแปลงแนวคิดและการจัดการสมัยใหม่

                    ผู้บริหารธุรกิจถ้าจะเข้าใจแนวคิดและการจัดการสมัยใหม่ได้ดี  จำเป็นต้องย้อนเพื่อความเข้าใจตามลำดับดังนี้
                   1.การจัดการเป็นเรื่องของการปฏิบัติ (Management as Practice) ดรักเกอร์ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ปี 1954 ว่า
                   ....การจัดการคือ งาน (Tasks) คือ  วินัย (Discipline) และการจัดการยังเป็นเรื่องคน  ความสำเร็จทุกๆ อย่างเป็นความสำเร็จของผู้จัดการ  โดยสรุป การจัดการเป็นการปฏิบัติมากกว่าวิทยาศาสตร์หรือวิชาขีพ  แม้ว่าจะมีองค์ประกอบของทั้ง 2 อย่าง
                   และในปี 2011 Mintzberg กล่าวว่า การจัดการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ (ศิลป์ในไอเดียและบูรณาการ) ฝีมือ (ทำให้เกิดการเชื่อมโยง การสร้างประสบการณ์ที่จับต้องได้)  ศาสตร์ (ทำให้มีลำดับผ่านความเป็นระบบในการวิเคราะห์ความรู้)
                  2.ทฤษฎีของธุรกิจ (The Theory of The Business)
ดรักเกอร์กล่าวว่า  มีข้อตกลงเบื้องต้นซึ่งองค์กรได้สร้างขึ้นมาและเป็นสิ่งที่ธุรกิจดำเนินอยู่แม้ว่าอาจจะยังไม่สอดคล้องความเป็นจริง
                    ข้อตกลงเบื้องต้นนี้ปรับพฤติกรรมของทุกองค์กร  กำหนดอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับอะไรที่องค์กรจะทำและอะไรที่จะไม่ทำ  และนิยามว่าอะไรคือสิ่งที่องค์กรควรพิจารณาว่าเป็นผลลัพธ์ที่มีความหมาย  ข้อตกลงเบื้องต้นนี้เกี่ยวกับตลาด  เป็นการวิเคราะห์ลูกค้า คู่แข่งขัน  ยังเป็นทั้งคุณค่าและพฤติกรรมขององค์กร  และเกี่ยวกับเทคโนโลยี  มีความเป็นพลวัต  เกี่ยวกับจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัท  ข้อตกลงเบื้องต้นนี้เกี่ยวกับการที่บริษัทได้ทุ่มเทไป  
                    สิ่งนี้คืออะไรที่ฉัน (ดรักเกอร์) เรียกว่า “ทฤษฎีธุรกิจของบริษัท”  ทุกๆ องค์กร  ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหรือไม่ก็ตาม  จะมีทฤษฎีของธุรกิจ หากทฤษฎีนี้แม่นตรง หมายถึงว่า มีความชัดเจน  ยืนหยัดและมีจุดมุ่งจะทำให้บริษัทมีพลังอำนาจที่ไม่ธรรมดาจริงๆ
                      ทฤษฎีของธุรกิจยังอธิบายความสำเร็จของบริษัทที่ผ่านมาและความท้าทายที่เคยเผชิญมาด้วยของธุรกิจ ขณะที่ในทฤษฎีของธุรกิจมีข้อตกลงเบื้องต้นอยู่ 3 ประการคือ
                       1)มีข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับ สภาพแวดล้อมขององค์กร อาทิ สังคมและโครงสร้างองค์กร ตลาด ลูกค้าและเทคโนโลยี  
                       สิ่งนี้นิยามว่า อะไรคือสิ่งที่องค์กรคาดหวังว่าสามารถจ่ายได้
                       2)มีข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับ ภารกิจโดยเฉพาะขององค์กร  
                       สิ่งนี้นิยามว่า องค์กรมีความตั้งใจอย่างไรในการทำสิ่งที่แตกต่างในสังคมและผลลัพธ์อะไรเป็นสิ่งที่มีความหมาย
                      3)มีข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับ ความสามารถหลัก (Core Competencies) ที่จำเป็นต่อการบรรลุความสำเร็จตามภารกิจขององค์กร  
                       สิ่งนี้นิยามว่า  ขอบเขตไหนที่องค์กรต้องทำให้ดีเลิศ เพื่อที่จะบรรลุภารกิจ

                        3.นวัตกรรมการจัดการ (Management Innovation)
                        Chesbrough ได้พูดถึง นวัตกรรมการจัดการในอนาคตอันใกล้นี้จะมีอยู่ 3 เรื่องด้วยกันคือ
                         1)การจัดการนวัตกรรมจะกลายเป็นสิ่งที่มีความร่วมมือกันมากขึ้น เช่น ชุมชนของผู้ที่มีความสนใจร่วมช่วยกันเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่  ทั้งกว้าง ลึกและมีคุณภาพ  โดยเฉพาะการดึงลูกค้าปัจจุบันและลูกค้ามีศักยภาพดีมาเป็นพันธมิตรใน “กระบวนการนวัตกรรม” ของบริษัท
                          2)นวัตกรรมโมเดลธุรกิจจะกลายเป็นสิ่งสำคัญเท่าๆ  กับนวัตกรรมเทคโนโลยี  เนื่องจากบริษัทระดับโลกจาก BRICs ประสบความสำเร็จในการเข้าสู่ตลาดเศรษฐกิจระดับสูงอย่างประเทศตะวันตกด้วยโมเดลธุรกิจใหม่และแตกต่าง
                          3)เราต้องการมากๆ ทั้งศาสตร์และศิลป์ของนวัตกรรมในเศรษฐกิจที่นำด้วยบริการ  โดยให้การยอมรับว่า ลูกค่าคือหัวใจของนวัตกรรมบริการ  การมีนวัตกรรมในบริการต้องการยุทธวิธีที่แตกต่างกันมากกว่านวัตกรรมในผลิตภัณฑ์  และการเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่เพื่อเปลี่ยนลูกค้าไปสู่วิธีการใหม่
และประเด็นอื่นๆ ได้อธิบายไว้ในการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจปัจจุบันปี 2557

                        ทั้งหมดนี้ทำให้เห็นทิศทางการจัดการธุรกิจได้ชัดเจนขึ้นสำหรับ ธุรกิจและฝ่ายการตลาดที่จะหยิบใช้เครื่องมือการจัดการสมัยใหม่ใดนำพาธุรกิจสู่อนาคต ได้ทั้งในระยะสั้น ปานกลางและระยะยาวเพื่อให้ธุรกิจเหนือการแข่งขัน  ...ด้วยมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้าอย่างที่ไม่อาจคาดถึงได้




ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

2014-09-24

KM สำหรับผู้บริหารศูนย์การศึกษา มสด.


         
                  ผู้เขียนรับเชิญ ไปบรรยายเรื่อง  Knowledge Management (KM) : การจัดการความรู้สำหรับผู้บริหารศูนย์การศึกษา มสด. เมื่อวันที่ 21 ส.ค.57  และได้นำเอกสารมาเผยแพร่เพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ กับท่านที่สนใจครับ

                   


                                 
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

2014-09-11

การคิดเป็นระบบ

บรรยายเรื่องการคิดเป็นระบบ ให้กับการพัฒนาความเป็นผู้นำ สำหรับกลุ่มผู้บริหารธนาคารออมสิน จัดโดยสถาบันพระปกเกล้า เมื่อ 10 ก.ย.57




ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

2014-03-18

Ideas on Shelf

อยู่ที่ร้านหนังสือ B2S แปลกใจว่าหนังสือที่ยอดนิยม หรือมีมาก ๆ พอ ๆ กับ หนังสือขายฝัน ขายวิมาน   หุ้นรวย คอมพิวเตอร์   กลายเป็น ...วิธีคิดไอเดีย  การสร้างไอเดีย  จุดระเบิดความคิด ไอน์สไตน์ ฉลาดได้ไง   หรือ อาจจะมี "ไม่โง่ได้บ้างไหม"( ยังหาไม่เจอ)

น่าดีใจครับ แสดงว่าคนไทยเราสนใจเรื่อง "การคิดไอเดีย"  มากขึ้น อันจะทำให้
-การถูกหลอกจากรัฐจะได้ทำยากกว่าเดิม
-ได้รู้เท่าทันเครื่องมือ หรือกระบอกเสียงของรัฐ   ทีปิดบังหรือปั่นแต่ภาพดี ๆๆ
-ไม่งมงายกับ เลขท้ายรถ  เหมือน จะได้ถือเป็นโชคลาภ ทั้ง ๆที่ จนแล้ว จนอีก

อาจทำให้เกิดความคิด
-อยากทำมาหากินในวิธีสุจริต มากขึ้น
-การมีอาขีพเป็นวิธีการที่ถูกต้องที่สุด ไม่ใช่ กองทุนโน่นนี่ โครงการจำนำ เงินช่วยภัยพิบัติ

คิด เรียนรู้วิธีทำมาหากินดีกว่าครับ  "จับเสือมือเปล่า  มันฟลุ๊ค ครับ มีไม่กี่คนหรอกครับ"

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
18 มี.ค.57

2014-03-03

ขั้นตอนก่อนที่จะจดไอเดีย


            ผู้เขียนเห็นบทความ "เรื่องอย่าปล่อยให้ไอเดียหลุดลอย" ใน นสพ.เดลินิวส์  หน้า 10 วันที่ 28 กพ 57 ว่าเกิดยามว่าง ๆ มีไอเดียขึ้นมาให้เตรียมตัวหาสิ่ง การจดบันทึกไอเดียให้ไม่หลุดลอยไปไหน
แต่เสียดายที่ผู้เขียนบทความไม่บอกว่า การเกิดไอเดียนั้น อยู่ในกระบวนการที่เรียกว่าอะไร  

           มีหนังสือ เล่มหนึ่ง ได้กล่าวถึง  Technic  for Producing  Idea  ได้อธิบายขั้นตอนนั้นว่า การที่คนเราได้อ่าน มีการครุ่นคิด และกำลังคิดอะไรอยู่ แต่คิดไม่ออก  เป็นเพราะสมองกำลังทำงาน ซึ่งเรียกว่า การต่อจิ๊กซอ ซึ่งต้องการเวลาในการตกผลึกความคิด 

           วิธีการที่สมองจะตกผลึกความคิด คือ การที่เราพัก ไปฟังเพลง ไปเดินเล่นชายทะเล ดูหนัง  แล้วเมื่อสมองทำงานเสร็จ "เราจึงปิ้ง" ขึ้นมาทันที  แต่ก็ยังเป็นไอเดียทีไม่สมบูรณ์ ต้องการขัดเกลา หรือปรับแต่ง อีกครั้ง 2 ครั้งแล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน  การบันทึกไอเดีย ตามบทความเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรเข้าใจกระบวนการสร้างไอเดียด้วย จึงจะไม่ทำให้ไอเดียหลุดลอยไปครับ



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081