2012-10-17

จินตวิศวกร คืออะไร ? -What is an Imagineer ?



          นับตั้งแต่ ปี 2547 ที่ผู้เขียนเริ่มพูดคำว่า จินตวิศวกร (Imagineer) จนกระทั่ง ได้ขยายแนวคิดไปมากมาย โดยเฉพาะ คำว่า Knowledge Imagineer หรือ จินตวิศวกรความรู้ 
         มีผู้สนใจสอบถามและอยากรู้ ที่ไปที่มากันมาก  เพราะไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน
         ตลอดเวลา ผู้เขียนเผยแพร่ แนวคิด และ รูปแบบการนำไปใช้ไว้ในที่ต่าง ๆ แต่ยังไ่มีโอกาสขยายความให้เต็มสมบูรณ์สักที่
         กระทั่งปัจจุบัน มีผู้รู้จักมากขึ้น เลยถือโอกาสสรุป ความรู้ในเรื่องนี้ไว้เป็นปฐมบทแห่งความท้าทายในยุคของการแสวงหา ความคิดใหม่  ไอเดียใหม่ และ นวัตกรรมใหม่





 
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

2012-05-08

"เทคนิคการคิดเพื่อสร้างนวัตกรรม"ใน โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) (2)


(หนังสือใหม่ด้านการสร้างนวัตกรรม )




ในขั้นตอนการสร้างไอเดียไปสู่นวัตกรรม ี 4 ขั้นตอนด้วยกัน
ตามรูป  1)ร่วมคิด (Co-Ideation) 2)ร่วมออกแบบ (Co-Design) 3)ร่วมพัฒนา (Co-Development) และ 4) ร่วมดำเนินการ (Co-Production)




กลุ่มแรก  ไอเดียนวัตกรรม  "ขาหมูเย็น"  หากพิจารณา เฉพาะที่นำเสนอ
               -เป็นลักษณะ "ไอเดีย" ต่อยอดความคิด หรือ ผลิตภัณฑ์ ที่ีอยู่แล้วในตลาด 
               -อาจยังต้องทำการทดสอบตลาดว่า มีผู้สนใจมากน้อยเพียงใด
               -รูปแบบของผลิตภัณฑ์ มีความโดดเด่นและแตกต่างไปจากผู้นำตลาด และทั่วไปขนาดไหน
               -จะมีโมเดลธุรกิจ(Business Model) อย่างไร                       






กลุ่มที่ 2  ไอเดียนวัตกรรม "ไ้ม้จิ้มฟันระงับกลิ่นปาก"
               
                 -เป็นลักษณะไอเดีย คล้ายแบบแรก  แต่มีความแตกต่าง ทั้งรูปแบบและ บรรจุภัณฑ์
                -ตลาดจะยอมรับมากน้อยแค่ไหน เพราะปกติ ไ้ม้จิ้มฟัน ผู้บริโภคไม่ีมีต้นทุน
                -ราคาที่เหมาะสมเป็นอย่างไร และจะคุ้มกับการลงทุน ไหม หากไปอยู่ในสินค้า ที่ต้องผ่าน อย.

              




กลุ่มที่ 3 ไอเดียนวัตกรรม "บ้านอยากอยู่ เย็น ๆ"
                       -ไอเดียอาจจะสอดคล้อง สภาพตลาดในปัจจุบัน
                       -ผลิตภัณฑ์ ที่นำเสนอ เป็น ผนังซีเมนต์  เลยยังไ่ม่เห็นความโดดเด่นและแตกต่างอย่างไร
              - คงต้อง ประเิมิน ช่วง "ร่วกันคิดใหม่" และหาเทคโนโลยีใหม่มาใช้




กลุ่มที่ 4  ไอเดียนวัตกรรม "น้ำผลไ้ม้รสไอโอดีน"
               -เป็นไอเดียที่น่าสนใจ ตอบโจทย์ ในปัจจุบันเด็กไอคิว
               -คงต้องสำรวจ ตลาดดูว่า รองรับหรือไม่ และ ขนาดตลาดที่คุ้มทุน
               -การพัฒนา ด้านช่องทางจำหน่าย





กลุ่มที่ 5 ไอเดียนวัตกรรม เป็นการผสม โรงพยาบาล/คลีนิค  + สปา - การดูแล
                   -อาจจะเป็นไปได้ยาก หากไม่มี โรงพยาบาลของตนเอง
                   -ถ้าใช้ รพ. เป็นพันธมิตร   พันธมิตร อาจทำเองดีกว่า
                   - อาจเป็นไปได้ในบาง พท. แต่ก็ต้องดู ปริมาณ ผู้ใช้บริการ

สรุปแล้ว ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้ขบวนการคิดไอเดีย สู่นวัตกรรม แต่สิ่งที่ต้องพัฒนา
1. ขั้นตอนการร่วมคิด ยังต้องการประสบการณ์ ซึ่งอาจจำกัดด้วยเวลา
2. เมื่อได้ ไอเดียนวัตกรรม แล้ว ถ้านำโมเดลธุรกิจมาพิจารณา จะช่วยให้ มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็นเชิงพาณิชย์
3. ผู้เข้าอบรมมีความสนใจและอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ที่เป็นความสำเร็จและใช้ได้เลยซึ่งบางครั้ง อาจจะทำให้ รากฐานไม่แน่น ในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจในระยะยาว


 ดร.ดนัย เทียนพุฒ
         วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
       โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com



ปล.

* ตอนที่ 1 "เทคนิคการคิดเพื่อสร้างนวัตกรรม"ใน โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC)


     

2012-05-06

"เทคนิคการคิดเพื่อสร้างนวัตกรรม"ใน โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC)


      สด  ๆ ร้อน ครับ กลับมาจากการไปบรรยาย โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC)  ของ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 10 และ มวล. วันที่ 6 พ.ค.55   ด้วยลักษณะผู้เข้าอบรม เป็นกลุ่มผู้ประกอบการใหม่  ทายาทผู้ประกอบการ และ ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจมาแล้ว  อีกทั้งยังมีควาหลากหลายของธุรกิจเป็นจอย่างมาก จำนวน 50 กว่าคน (ที่มา)






เมื่่อบรรยายไป พบว่า ผู้เข้าอบรม มีความคิด ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะ 
  -ชอบการเรียนรู้จาก เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Clip ตัวอย่างจากธุรกิจที่นำเสนอ
  -ชอบการฝึกปฏิบัติ และการลงมือทำ
  -ไม่ชอบการเรียนรู้ที่เป็น ทฤษฎีมาก ๆ (น่าแปลก) แต่อยากฟังตัวอย่างที่มีหรือเคยได้ยินว่าสำเร็จอย่างไร ง่าย ๆ "อยากเรียนลัด ไม่อยากเรียนลึก"





ผู้เขียนให้ทำกิจกรรมกลุ่ม โดยดู Clip VDO  3 เรื่อง และให้ สรุป
1) ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่าง ไอเดีย(คิดสร้างสรรค์) กับ นวัตกรรม 
2) การระดมความคิดแบบใด จึงดีที่สุดที่ทำให้เกิด "นวัตกรรม" (ซึ่ง ตอบกันไม่ค่อยได้)

และหลังจากนั้น ได้เสนอโมเดล "สร้างนวัตกรรม" ที่เรียกว่า Stage -Gate Model" ต้นฉบับ กับ "SIAM Innovation 3.01" ที่ผู้เขียนพัฒนาขึ้น ใช้ในการพัฒนานวัตกรรม
แล้วให้เข้ากลุ่ม ลงมือคิด ไอเดีย จนนำไปสู่นวัตกรรม  ด้วยกระบวนการ 4 ขั้น ร่วมคิด ร่วมออกแบบ  ร่วมพันา และร่วมดำเนินการ

ซึ่งผู้เข้าอบรม คิดไอเดียไปสู่นวัตกรรมใหม่ ใน 5 นวัตกรรมได้อย่างไร ตาม 4 ขั้น จะเล่าให้ฟังต่อไป ว่า เป็นอย่างไรครับ
(ยังมีต่อ)

      ดร.ดนัย เทียนพุฒ
         วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
       โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com


2012-04-11

ความท้าทายของการจัดการในศตวรรษที่ 21


            ดร.ดนัย เทียนพุฒ ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital และ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันพระปกเกล้า   ได้รับเชิญห้บรรยายหลักสูตรธรรมาภิบาลของผู้บริหารระดับกลาง สำหรับกรมการแพทย์ โดยสถาบันพระปกเกล้า ในหัวข้อวิชา แนวคิดและการบริหารงานสมัยใหม่ตาหลักธรรมาภิบาล ในวันอังคารที่ 3 เม.ย.55 เวลา 13.00-16.00 น. ณ.ห้องศักดิเดชน์ภูวไนย ชั้น 5 ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ 
            การบรรยายดังกล่าว ได้ชี้ให้เห็น "ความท้าทายของการจัดการในศตวรรษที่ 21"  ว่ามีอะไรบ้าง เช่น ผลการศึกษาด้านเครื่องมือการจัดการ ปี 2012 ที่ CEO ของธุรกิจนิยมใช้กัน เช่น ด้าน กลยุทธ  การตลาด การเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม   กระบวนการ และ HR 
            ที่ฉายภาพใหม่คือ   
             1.การเปลี่ยนแปลงของโลก  โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลง ของกลุ่มประเทศต่าง  อาทิ 1) กลุ่มที่เติบโตช้า เช่น สหรัฐ ยุโรปเดิมและ ญี่ปุน  2) กลุ่มชนชั้นกลางระดับโลก ที่กำลังเติบโต  3) กลุ่มเกิดใหม่ โดยเฉพาะอินโดนีเซียที่เติบโตอย่างร้อนแรง และ 4) AEC 2015 ที่จะมีทิศทางเป็นตลาดที่น่าสนใจ ซึ่งเราควรเตรียมตัวอย่างไร
             2.การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ เช่น 
                -i OS-HUB
                -New Marketing Channel
                -Innovation management
                -Facebook era
                -K-pop's Success Diamond Model
             3. การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำงาน และ 4 แนวโน้มใหม่ของ HR 

             การบรรยาย ดำเนินไปอย่างเร้าความสนใจครับ พอช่วยเบรค ผู้เขียนไปเข้าห้องน้ำ พักทานกาแฟ เมื่อเดินกลับเข้าห้องบรรยาย
             ....ได้พบสิ่งที่ไม่เคยเกิดที่สถาบันพระปกเกล้า คือ  มีผู้เข้าอบรม จากกรมการแพทย์ ทำการก๊อปปี้ไฟล์จากเครื่องคอมฯ ที่ผมฉาย Power point เห็นกำลังทำ (หน้าจอเครื่องคอมฯ ผมเปลี่ยนไป เมื่อขึ้นไปดูที่เครื่อง )..............
             ความจริงขออนุญาต ก็ได้ เพราะปกติผมเผยแพร่อยู่แล้ว แต่ที่กังวลคือ  ก๊อปปี้อะไรไปมากกว่านั้นไหม เพราะมีงานอื่น ๆ อยู่ในเครื่อง และ จะติดไวรัสหรือเปล่า เพราะหากติดไวรัสข้อมูลเสียหาย ใครจะรับผิดชอบ  ผมเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ได้ใช้ความคิด และไม่คิดถึงผลที่จะตามมากับผู้อื่น .........
            ...สุดท้าย มี นศ.ในหลักสูตรฯ สืบค้นข้อมูลได้อ่านพบบล็อกเรื่องนี้และประชุมหาข้อเท็จจริงพบว่า  เป็นการกระทำจริงและผู้กระทำรู้สึกผิด ทางสถาบันพระปกเกล้าและประธานรุ่นได้โทรมาขอโทษในนาม กลุ่ม นศ.และทำจดหมายขอโทษมา (อ่านได้ครับ) 
            ครับ เป็นผู้ใหญ่กันแล้วถ้ารู้สึกว่าผิดหรือไม่ถูกต้อง  ผมก็ยินดีให้อภัย
       
                 ไหน ๆ ก็มีผู้สนใจกันมาก ผมเลยนำสไลด์การบรรยาย ทั้งหมด มาทำเป็น  Clip VDO เผยแพร่ให้เป็นการสาธารณะ 




วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com


2012-01-24

จินตวิศวกร -Imagineer



ในครั้งแรก ที่ผมรู้จักคำนี้  Imagineer  ภาษาไทยผมใช้ว่า "จินตวิศวกร"  ก็ตอนไป Disneyland  ที่ California   แม้ว่าก่อนหน้านั้นได้สัมผัสที่ Paris มาก่อนแล้วก็ตาม

จินตวิศวกร  เป็นคำที่มาจาก Imagination +Engineering = Imagineering
คือ งานด้าน "จินตวิศวการ (Imagineering) มีทั้งจินตนาการ  และการออกแบบสิ่งที่เป็น ธีมปาร์ค และเครื่องเล่นในสวนสนุก และคนที่ทำงานด้านนี้ เรียกว่า "จินตวิศวกร (Imagineer)"

ตำแหน่งของเหล่า จินตวิศวกร นี้ ทำงานทั้งด้าน การออกแบบเครื่องเล่น และสร้างจินตนาการให้ไปไกลสุดที่มนุษย์อยากได้ ใน "ความสนุก+ความตื่นเต้นเร้าใจ+ความกลัวสุด ๆ แต่ไม่เป็นความเสี่ยง"  นั่นคืองานของเขา

ทุกท่านก็จะพบกับ Theme park พร้อมเครื่องเล่นที่เร้าใจ อาทิ  ตึกนรก  ท่องใต้สมุทร มัมมี่ Mountain Space  ฯลฯ

ในวีดีโอนั้นคีือ  Walt Disney บุคคลริเริ่มหรือบุกเบิก  ความเป็นจินตวิศวกร



หลังจากนั้น เมื่อผู้เขียนบรรยายเรื่อง คิดสร้่างสรรค์เชิงนวัตกรรม (InnoCreative)  ก็แนะนำวิธีการคิดแบบจินตวิศวกร กับอีกแนวคิดคือ  ผู้ออกแบบและการสร้างความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งผู้เขียนเรียกว่า  "จินตวิศวกรความรู้ -Knowledge Imagineer"
และใช้เรื่องมาหลายปี ในหนังสือ ทั้งด้านการบริหาร HR  เช่น บริหารคนในทศวรรษหน้า  และ หนังสือไอเดียและนวัตกรรมในธุรกิจ

 เนื่องจากในปีที่แล้ว (2554) ได้ไปจุดประกายให้กับ .ท่าน รศ.ดร.ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล ผอ.หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (การจัดการความรู้) หรือ ปริญญาโท KM  ของ ม.ราชภัฏสวนดุสิต ว่า ทิศทางใหม่ของหลักสูตร น่าจะนำ Imagineer ไปใช้เป็น ชื่อ หรือ โมเดลในการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งเมื่อ เร็ว ๆ นี้ท่าน ผอ.โครงการฯ ได้พัฒนาแนวคิดเป็นที่เรียบร้อย สำหรับหลักสูตร ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิต และคงอนุมัติเป็นทางการอีกไม่นานเพื่อรับนักศึกษาในด้านนี้ (อาจไม่ตรงกับหลักสูตรและสถาบันในต่างประเทศ ที่เปิดสอนด้าน Imagineering)

จึงมีเรื่องราวที่น่าสนใจและจะมาเล่าต่อ เกี่ยวกับ Imagineer หรือ จินตวิศวกร ในบทความที่เจาะลึกมากขึ้นครับ


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com


2012-01-13

การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์สำหรับธุรกิจ


               และแล้วใน วันที่ 12 ม.ค.55 ที่ผ่านมา  ดร.ดนัย เทียนพุฒ รับเชิญบรรยายให้กับ  ฝ่ายส่งเสริมการค้าและการลงทุน  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  หัวข้อ "InnoCreative Management for Business"


มีผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรม จำนวนมาก เนื้อหาเข้มข้น ในเรื่องการนำไอเดียไปสู่นวัตกรรม ที่ทำเงินได้จริง

สไลด์การบรรยายในรูป VDO
                          

 พร้อมการฝึกปฏิบัติ The SIAM Innovation Model   และนำเสนอผลงานของผู้เข้าอบรมที่น่าสนใจมาก








 ดูเนื้อหาหลักสูตรการบรรยายได้ที่นี่ครับ
  "หลักสูตรการจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ "

หนังสือ ก็มีให้หาอ่านได้ จัดให้ที่
"ไอเดีย และ นวัตกรรมในธุรกิจ (2) : INNOVATION 3.01"

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com